วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ไฟล์:Emperor Akihito and empress Michiko of japan.jpg

สมเด็จพระจักรพรรดิ อะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดิ นีมิชิโกะ   

                ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วย ระบอบประชาธิปไตย  แบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จ          พระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับ นายกรัฐมนตรี และสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตย นั้นเป็นของ ชาวญี่ปุ่น พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ





                                                                  ไฟล์:Diet of Japan Kokkai 2009.jpg                                               
                             ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น

 องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น  คือ    สภานิติบัญญัติแห่งชาติ  หรือที่เรียก    "ไดเอ็ต"   เป็น ระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎ์  เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา  เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป  พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาล มาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน พ.ศ. 2498 จนในปี พ.ศ. 2552  พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น  ชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี
สำหรับอำนาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกโดยสมาชิกด้วยกันเองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายนะโอะโตะ คัง  หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประมวลกฎหมายคุจิกะตะโอะซะดะเมะงากิ (ญี่ปุ่น: 公事方御定書) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรปโดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นต้นแบบ เช่นใน พ.ศ. 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของตน เรียก "มินโป" (ญี่ปุ่น: 民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน[51]
กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ (ญี่ปุ่น: 憲法) และบรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรเป็นการประกาศใช้ ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้วพระจักรพรรดิไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ส่วนศาลของญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้ ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลแขวง และศาลครอบครัว, ศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุด ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก "รปโป" (ญี่ปุ่น: 六法) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ

9 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาน่าสนใจ รูปแบบสีสันสวยงาม

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาเยอะไปนะค่ะ แต่ภาพรวมแล้วสวยค่ะ

    ตอบลบ
  3. สวยค๊ะ เนื่้อหากอดีด้วย

    ตอบลบ
  4. รูปแบบสวยงาม เนื้อหาน่าสนใจ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาสุดยอดไปเลยคุนเพิ่ล

    ตอบลบ
  6. เนื้อหากะทัดรัด..อ่านเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  7. อ่านแร้วอยากไปญี่ปุ่นเรยอ่าาา เนื้อหาดี มีสาระ เข้าจัย อ่านง่าย จัดวางสวย จ้ะ

    ตอบลบ