วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศแตกต่างจากการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร






ความหมาย ของการค้าระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่งสินค้าเกษตรไปขายให้ญี่ปุ่นและสั่งเครื่องมือเครื่องจักรเข้าประเทศ

ความหมาย ของการตลาด ระหว่างประเทศ
             การตลาดระหว่างประเทศ หมายถึง การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

ความแตก ต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
            การค้าระหว่างประเทศจะเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการระหว่างประเทศต่างๆ ที่ได้มีการทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน โดยได้มีการนำเข้าและส่งออกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละประเทศนั้นจะมีการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน แต่การตลาดระหว่างประเทศจะเป็นการเสนอขายสินค้า และบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดน โดยมีเป้าหมายเพื่อหาตลาดใหม่ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ

ไฟล์:Emperor Akihito and empress Michiko of japan.jpg

สมเด็จพระจักรพรรดิ อะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดิ นีมิชิโกะ   

                ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วย ระบอบประชาธิปไตย  แบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จ          พระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศ โดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐ อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับ นายกรัฐมนตรี และสมาชิกอื่น ๆ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนอำนาจอธิปไตย นั้นเป็นของ ชาวญี่ปุ่น พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ





                                                                  ไฟล์:Diet of Japan Kokkai 2009.jpg                                               
                             ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น

 องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น  คือ    สภานิติบัญญัติแห่งชาติ  หรือที่เรียก    "ไดเอ็ต"   เป็น ระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎ์  เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และมนตรีสภา  เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป  พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาล มาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน พ.ศ. 2498 จนในปี พ.ศ. 2552  พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น  ชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี
สำหรับอำนาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกโดยสมาชิกด้วยกันเองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายนะโอะโตะ คัง  หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประมวลกฎหมายคุจิกะตะโอะซะดะเมะงากิ (ญี่ปุ่น: 公事方御定書) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรปโดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นต้นแบบ เช่นใน พ.ศ. 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งของตน เรียก "มินโป" (ญี่ปุ่น: 民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน[51]
กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ (ญี่ปุ่น: 憲法) และบรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิเป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรเป็นการประกาศใช้ ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้วพระจักรพรรดิไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย ส่วนศาลของญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้ ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นทั่วไป ศาลแขวง และศาลครอบครัว, ศาลอุทธรณ์ และศาลสูงสุด ส่วนกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก "รปโป" (ญี่ปุ่น: 六法) มีสภาพเป็นประมวลกฎหมายที่สำคัญหกฉบับ